สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย กำเนิดขึ้นหลังปีคนพิการสากล เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2526 โดยแกนนำคนพิการหลายท่านในขณะนั้น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าร่วมประชุมสมัชชาคนพิการ
“คนพิการสากล” (DISABLED PEOPLE’S INTERNATIONAL) ณ ประเทศสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ (ธีม) หลัก คือ “คนพิการควรจะมีสิทธิเข้ามีส่วนร่วมในสังคมอย่างเต็มที่และเสมอภาค (Full Participation and Equality) เช่นบุคคลทั่วไปในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม”
ด้วยเหตุที่ตระหนักดีในสภาพความเป็นจริงว่าคนพิการในประเทศไทยได้ถูกละเลยทอดทิ้งจากรัฐและสังคมมาเป็นเวลานาน คนพิการไม่เคยได้มีสิทธิ และโดยที่คนพิการแต่ละประเภทในประเทศไทยมิได้รวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้ขาดพลังในการขับเคลื่อนนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ
ดังนั้นผู้นำคนพิการประเภทต่างๆ เช่น ผู้นำสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ผู้นำสมาคมคน หูหนวกแห่งประเทศไทย ผู้นำสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย และผู้นำสมาคมผู้ปกครองเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไท จึงได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน เพื่อจะรวมตัวกันเป็นองค์กรเดียวเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทน เป็นปากเสียงให้กับคนพิการทั้งมวล โดยรณรงค์เรียกร้องให้มีกฎหมาย มีระเบียบข้อบังคับที่จะให้ประโยชน์ต่อคนพิการทุกประเภท ในที่สุดเมื่อวันที่ 20-22 ตุลาคม 2526 ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีคนพิการทุกประเภทและตัวแทนจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยเข้าร่วมประชุมและมีมติให้จัดตั้ง “สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย”
ปัจจุบันสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยเป็นองค์การขับเคลื่อนเชิงนโยบายด้านคนพิการระดับชาติ ซึ่งถูกรับรองฐานะไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เป็นองค์กรร่ม (Umbrella Organization) มีสมาชิกสามัญถาวร คือ องค์การด้านคนพิการแต่ละประเภทระดับชาติ 6 องค์การ ได้แก่ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) รวมทั้งมีสมาชิกสามัญทั่วไป ได้แก่ สภาคนพิการทุกประเภทประจำจังหวัดที่เป็นสาขาอยู่ใน 77 จังหวัด อีกทั้งยังมีสมาชิกวิสามัญซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายองค์กรด้านคนพิการอื่น
ข้อบังคับสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยที่แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุดในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 วันที่ 5 มีนาคม 2560 ณ จังหวัดระนอง ข้อ 4 กำหนดว่าสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ 10 ประการ ได้แก่
“สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยเข้มแข็ง มีธรรมาภิบาล เป็นกลไกหลักร่วมกับองค์การคนพิการแต่ละประเภทในการขับเคลื่อนนโยบายด้านคนพิการ และเป็นหุ้นส่วนสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน”
หมายเหตุ: อยู่ระหว่างการจัดทำแผนผังโครงสร้างคณกรรมการบริหารฯ เนื่องจากเพิ่งเปลี่ยนชุดใหม่
ที่ | ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่ง |
1 | นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ | นายก / ประธานฝ่ายวิสาหกิจเพื่อสังคม |
2 | นางนุชจารี คล้ายสุวรรณ | อุปนายก 1 |
3 | นาย ศุภชีพ ดิษเทศ | อุปนายก 2 / เลขาธิการ |
4 | นายวิทยุต บุนนาค | อุปนายก 3 / ประธานฝ่ายศิลปะ วัฒนธรรมและภาษา |
5 | นาย เอกกมล แพทยานันท์ | อุปนายก 4 / ประธานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
6 | นาย สุชาติ โอวาทวรรณสกุล | อุปนายก 5 / เหรัญญิก |
7 | นาย วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ | ประธานฝ่ายการศึกษา |
8 | นาย มณเฑียร บุญตัน | ประธานฝ่ายต่างประเทศและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ |
9 | นาย ต่อพงศ์ เสลานนท์ | ประธานฝ่ายส่งเสริมอาชีพและการจ้างงาน |
10 | นาย พีรพงศ์ จารุสาร | ประธานฝ่ายกฎหมายและสิทธิมนุษยชน |
11 | นาย ภัทรพันธุ์ กฤษณา | ประธานฝ่ายสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการ |
12 | นาย วิเชียร หัสถาดล | ประธานฝ่ายฟื้นฟูสมรกรถภาพทางการแพทย์ |
13 | นาย สันติ โกสิยานุภาพ | ประธานฝ่ายกีฬาและการท่องเที่ยว |
14 | นาง อรุณี ลิ้มมณี | ประธานฝ่ายเด็ก เยาวชน สตรี และกลุ่มเป้าหมายพิเศษ |
15 | นายกานต์ อรรถยุกติ | กรรมการบริหาร |
16 | นายไพโรจน์ เจริญวิไลศิริ | กรรมการบริหาร |
17 | นาย สำเริง วิระชะนัง | ประธานฝ่ายอาเซียน |
18 | นาย ปราโมทย์ ธรรมสโรช | ประธานฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาองค์กร |
19 | นาง วาสนา สำลีรัตน์ | ประธานฝ่ายสวัสดิการ |
20 | นางสาว กิจจาพร ชื่นบุญ | กรรมการบริหาร |
21 | นาง อัญชลี แก้วฝ่ายนอก | ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ |
22 | นาง ภานินี ธรรมธัชพิมล | ประธานฝ่ายจิตอาสาและพัฒนาศักยภาพ |
23 | นางสาว เทวิกา วงศ์ยาทัน | กรรมการบริหาร |
24 | นาง พัชรี มีเย็น | กรรมการบริหาร |
25 | นายพิชัย สีมามหรรณพ | กรรมการบริหาร |
26 | นางจินตนา รุ่งเรืองวงศ์ | กรรมการบริหาร |
27 | นางพิศมัย สุวรรณรังษี | กรรมการบริหาร |
28 | นายเทเวศ ยวนเศษ | กรรมการบริหาร |
ปี 2534 สภาคนพิการฯ สามารถผลักดันพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับแรกด้านคนพิการ ทำให้เกิดหน่วยงานและคณะกรรมการที่ทำงานเรื่องคนพิการเป็นรูปธรรม มีการจดทะเบียนและให้บริการแก่คนพิการในด้านต่างๆ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ การศึกษา การประกอบอาชีพ และการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก
ปี 2540 สภาคนพิการฯ ผลักดันให้รัฐธรรมนูญปี 2540 บัญญัติเรื่องสิทธิของคนพิการไว้ได้สำเร็จ “มาตรา 55 บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก อันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ปี 2550 สภาคนพิการฯ ผลักดันให้ รัฐธรรมนูญปี 2550 บัญญัติเรื่องการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่ง “ความพิการ” ไว้เป็นครั้งแรกในมาตรา 30 และปฏิรูปพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ให้เป็นพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ที่เปลี่ยนจาก “ฐานคิดแบบเวทนานิยม/สงเคราะห์/ช่วยเหลือ” เป็น “ฐานสิทธิ”
ปี 2551 สภาคนพิการฯ ผลักดันให้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551
ปี 2560-2561 สภาคนพิการฯ ผลักดันให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เพื่อกำหนดให้คนพิการได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกับบุคคลอื่นในการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยให้สามารถทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น วรรณกรรม ศิลปกรรม ให้อยู่ในรูปแบบที่คนพิการเข้าถึงได้ เช่น อักษรเบรลล์ ภาษามือ รวมทั้งเพื่อให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญามาร์ราเคช (Marrakesh Treaty) ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
ปี 2561 สภาคนพิการฯ ได้จัดทำข้อเสนอต่อร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ฉบับรับฟังความคิดเห็นวันที่ 15 มิถุนายน 2561 โดยคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เพื่อขอให้ 1) ใส่คำว่า“คนพิการ” ไว้ทั้งในบทนิยามและในทุกมาตราที่เกี่ยวข้อง 2) เพิ่มศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ 3) กำหนดให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากบริการสารสนเทศด้านการศึกษา 4) ขอให้มีการจัดชั้นเรียนในรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา และ 5) ขอให้บัญญัติคำว่า “ออทิสติก” ไว้ในกฎหมายอันจะช่วยให้บุคคลออทิสติกได้รับสิทธิทางการศึกษา
ปี 2559-2561 ให้คนพิการที่เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคมที่ได้รับประโยชน์ทดแทนจากการเจ็บป่วย สามารถเลือกรับบริการสาธารณสุขจากกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) อย่างใดอย่างหนึ่งแทนได้
ปี 2560-2561 สภาคนพิการฯ ผลักดันให้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการสามารถเข้าถึง “การกู้ยืมเงินทุนเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ” ได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้นไม่ติดขัด โดยผู้ขอกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพเป็นรายบุคคลซึ่งเป็นคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ สามารถขอกู้ยืมเงินในท้องที่ใดที่ตนได้ประกอบอาชีพอยู่อย่างแท้จริงได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอีกต่อไป และให้นิติบุคคล (องค์การคนพิการแต่ละประเภท/สมาคมต่าง ๆ) สามารถค้ำประกันผู้ขอกู้ทั้งที่เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้
ปี 2526-2560 สภาคนพิการฯ ได้จัด “สมัชชาคนพิการแห่งชาติ” ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาเกือบ 30 ปี โดยเป็นงานประจำปีที่ผู้นำคนพิการทั่วประเทศได้มีโอกาสมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยน รวมทั้งกำหนดแนวนโยบายการทำงานของสภาคนพิการฯ ร่วมกัน เช่น ปีที่ผ่านมาเน้นเรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สภาคนพิการจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด
ปี 2560-2561 สภาคนพิการฯ ฟ้องศาลปกครองกลางให้เพิกถอนคำสั่งของกระทรวงการคลังที่ขอให้กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการนำเงินสภาพคล่องส่วนที่เกินความจำเป็นของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวน 2,000 ล้านบาท
ปี 2559 สภาคนพิการฯ ได้ร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคนพิการ ประเทศไทย จัดทำ”รายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการของประเทศไทย” ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่จัดทำรายงานคู่ขนาน และได้ไปนำเสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ ที่นครเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559
อาคารศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก เลขที่ 255 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400 โทร: 02-3544260 โทรสาร: 02-3544261
Website: www.dth.or.th
E-mail: disabilitiesth@gmail.com
Facebook: https://www.facebook.com/disabilitiesth/
สายด่วนคนพิการ
255 ห้อง 6-8 ชั้น 3 อาคารศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD) ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
E-mail : disabilitiesth@gmail.com
@2022 สงวนลิขสิทธิ์โดยสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย