
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 เวลา 08.30-16.00 น. ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข นายวิเชียร หัสถาดล ประธานฝ่ายฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ในฐานะผู้แทนสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการสุขภาพคนพิการ ครั้งที่ 1/2561 โดยมีหน่วยงานภาครัฐและผู้แทนองค์การคนพิการแต่ละประเภท เข้าร่วมการประชุม สรุปการประชุมได้ดังนี้
ภาคเช้า
1. อาจารย์มะลิวัลย์ เรือนคำ นำเสนอการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพประเด็นความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพคนพิการ
2. ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนอสถานการณ์ปัจจุบันของนโยบายเกี่ยวกับสุขภาพคนพิการ
2.1 นโยบายระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพคนพิการและการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดย พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์
2.2 ความคืบหน้าและอุปสรรคในการพัฒนาระบบบริการ Intermediate care โดยผู้แทนสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
2.3 การขับเคลื่อนและติดตาม การดำเนินงานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยผู้แทนสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
2.4 การเข้าถึงบริการสุขภาพ ผ่านการจัดการภายใต้ศูนย์บริการคนพิการ โดยผู้แทนจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
2.5 ยุทธศาสตร์ที่มาจากแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับ ๕ โดยผู้แทนจากกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
2.6 ความคืบหน้า การดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ และสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ โดย ผู้แทนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2.7 ความคืบหน้า การดำเนินงานเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ กองทุนประกันสังคม โดย ผู้แทนจากสำนักงานประกันสังคม
2.8 ข้อเสนอจากเครือข่ายคนพิการรักสุขภาพ เรื่องสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการ สุขภาพ โดยผู้แทนสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย
ภาคบ่าย ที่ประชุมได้ร่วมกันกำหนด เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และประเด็นหลักในการขับเคลื่อน ดังนี้
เป้าประสงค์(Vision) การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามแนวทาง 4PW
ประเด็นยุทธศาสตร์ : CARE
■ C : Collaboration
■ A : Accessibility
■ R : Research
■ E : Evaluation
ประเด็นหลักในการขับเคลื่อน
1. สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อเสริมพลังคนพิการและเครือข่ายคนพิการให้รู้จักสิทธิและเข้าถึงสิทธิ
2. สนับสนุนการพัฒนาระบบบริการและระบบสนับสนุนทางการเงินเพื่อให้เข้าถึงสิทธิได้โดยไม่มีภาระทางการเงิน
3. หนุนเสริมให้เกิดการวิจัยระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
4. ประเมินความสำเร็จของการดำเนินการ