
การประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจำกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2561 วันพุธที่ 4 กรกฎาคม 2561 เวลา 10.00 น. ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำกรุงเทพมหานคร ได้ประชุมเพื่อพิจารณาประเด็นสำคัญ ดังนี้
- ) ประธานแจ้งให้ทราบเรื่องคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำกรุงเทพมหานครชุดใหม่ ลงนามโดย นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ขณะนี้เรื่องอยู่ที่กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- ) เรื่องเพื่อพิจารณาโครงการจำนวน 5 โครงการ
- โครงการการจัดการลดความเสี่ยงภัยพิบัติกับคนตาบอดและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง วงเงินที่เสนอขอจำนวน
226,610 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
ข้อสังเกตอนุกรรมการ
- งบค่าจ้างถ่ายภาพและล้างอัดขยาย ปรับเป็นงบการ live สด การอบรม ซึ่งสามารถนำไปลงใน youtube ,line ได้จะเป็นประโยชน์การขยายผลและการประเมินติดตามผล
มติที่ประชุม เห็นชอบโครงการตามกรอบวงเงิน 233,200 บาท และนำข้อเสนอของคณะอนุกรรมการไปประกอบในการดำเนินโครงการ
2. โครงการเสริมสร้างทักษะการใช้โทรศัพท์ระบบไอโอเอส และแอนดรอยเพื่อการสื่อสาร วงเงินที่เสนอขอ จำนวน 281,800 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
ขอสังเกตอนุกรรมการ
- กลุ่มเป้าหมายอบรมครั้งที่ 1 เรียนรู้ระบบไอโอเอส 28 คน และครั้งที่ 2 เรียนรู้ระบบเอนดรอย 28 คน ต้องเป็นบุคคลที่มีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนระบบดังกล่าวและกลุ่มเป้าหมายไม่ควรซ้ำกัน
- ระยะเวลาการอบรม 2 ครั้ง ครั้งละ 2 คืน 3 วัน ขอให้ส่งหลักสูตร/ตารางการอบรม เนื่องจากระยะเวลาอบรมหลายวัน
- ค่าจ้างถ่ายภาพและล้างอัดขยาย ปรับเป็น live สด
มติที่ประชุม เห็นชอบโครงการในกรอบวงเงิน 281,800 บาท และนำข้อเสนอของอนุกรรมการไปประกอบในการดำเนินโครงการ
3. โครงการส่งเสริมการทำความดีเพื่อความตระหนักรู้คุณค่าธรรมะเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาถึงคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสายตา วงเงินที่เสนอขอ 174,260 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สมาคมศิษย์เก่าการศึกษานอกโรงเรียนคนตาบอดในประเทศไทย
ข้อสังเกตอนุกรรมการ
- กลุ่มเป้าหมายคนพิการทางการเห็น 3 โครงการ ไม่ควรซ้ำกัน
- ปรับงบค่าจ้างถ่ายภาพและล้างอัดขยายภาพ เป็นการ live สด
- ผู้เข้าร่วมพักค้างที่วัด ซึ่งงบค่าอาหารที่ขอสนับสนุน มีค่าอาหารกลางวัน อาหารเย็น แต่ไม่มีค่าอาหารเช้า หากจะปรับเพิ่มค่าอาหารเช้า ต้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบปรับแก้และเสนอเข้ามาใหม่
- ขอให้แนบรายชื่อกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ตอนที่เสนอโครงการเพื่อประกอบการพิจารณา
มติที่ประชุม เห็นชอบโครงการในกรอบวงเงิน 175,620 บาทตามความเห็นของคณะทำงานกลั่นกรองโครงการ โดยปรับเพิ่มค่าเดินทางผู้เข้าร่วม 80 คน จาก 500 บาท เป็น 700 บาทโดยให้เบิกจ่ายตามจริง
4. โครงการฟื้นฟูเด็กพิการด้วยศาสตร์นวดไทย “หลักสูตร 150 ชม.” วงเงินที่เสนอขอ 417,650 บาท หน่วยงานที่รับผิดชอบ สมาคมศูนย์การเรียนรู้คนพิการบ้านแม่นก
ข้อสังเกตอนุกรรมการ
- หลักสูตรการอบรมนวดไทยแบบเบื้องต้น เป็นหลักสูตรตามที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพหรือไม่
- ควรมีหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐาน ปลอดภัยจริง
- วิทยากรที่อบรม ต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข
มติที่ประชุม เห็นชอบหลักการโครงการ โดยให้ตรวจสอบเรื่องหลักสูตรและคุณวุฒิวิทยากร
5. โครงการว่ายน้ำเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางสติปัญญา วงเงินที่เสนอขอ 183,500 บาท
หน่วยงานที่ รับผิดชอบ ชมรมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาจังหวัดกรุงเทพมหานคร
ข้อสังเกตอนุกรรมการ
- ค่ากระเป๋าสำหรับใส่อุปกรณ์การว่ายน้ำ เสนอขอมา 30 คน x 80 บาท เด็กที่ว่ายน้ำจริงมีเพียง 15 คนเท่านั้น ขณะที่ 15 คน คือผู้ปกครองที่มาดูแลเด็ก
- ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกว่ายน้ำสูงเกินไป ควรดูอัตราค่าตอบแทนวิทยากรตามเบิกจ่ายจริง
มติที่ประชุม เห็นชอบโครงการในกรอบวงเงิน 178,700 บาท
3.) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560-2564 วงเงินที่เสนอขอ จำนวน 378,930 บาท หน่วยงานรับผิดชอบ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร
ที่ประชุมให้ข้อเสนอ ดังนี้
- โครงการการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกรุงเทพฯ เสนอปรับกิจกรรมที่ 1 การประชุมทบทวนสถานการณ์ รับฟังปัญหาความต้องการกำหนดแผนงาน กิจกรรม และโครงการ จากเดิม 1 วัน เป็น 2 วัน พักค้าง ผู้เข้าร่วม 120 คน
- ร่างคำสั่งคณะทำงานในการยกร่างแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3
- ปรับคณะทำงานที่มาจากองค์กรคนพิการ จากเดิม “ผู้แทนสมาคม.....” ขอให้ปรับเป็น “นายกสมาคม.......หรือผู้แทน”
- ผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอ 3 คน ได้แก่ นายพิชญะ ใหญ่แก่นทราย (พก.) , ดร.วันฉัตร สุวรรณกิตติ (สภาพัฒน์) , อาจารย์จุฬาที่ร่วมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
4. ) เรื่องอื่นๆ
นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุลเสนอ 2 เรื่อง ได้แก่ 1. ฟุตบาททางเท้าที่เอื้อกับคนพิการ 2. การรับเด็กพิการสติปัญญาเข้าเรียนโรงเรียนกรุงเทพฯ ไม่ควรกำหนดหลักเกณฑ์ไอคิวเด็ก