ขนาดตัวอักษร แสดงผล

ข้อมูลอินโฟกราฟิก

infoGraphic

International Guide Dog Day วันสุนัขนำทางสากล

วันที่ 27-04-2566 455
International Guide Dog Day วันสุนัขนำทางสากล
26 เมษายน หรือวันพุธสุดท้ายของเดือนเมษายนนั้นถูกประกาศให้เป็น วันของเหล่าเจ้าสุนัขผู้ช่วยเหลือคนพิการ เพราะว่าเป็นวันสุนัขนำทางสากล หรือ International Guide Dog Day
นิยามของสุนัขนำทาง
สุนัขนำทาง หรือ (Guide Dog) เป็นสุนัขที่ถูกฝึกมาอย่างดีเพื่อให้ช่วยเหลือทั้งมนุษย์และผู้พิการ ไม่ว่าจะเป็นพิการทางหู หรือทางร่างกายที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
และสุนัขนำทางจะสามารถเข้าถึงพื้นที่สาธารณะทุกที่โดยไม่ผิดกฎหมาย เพราะต้องคอยให้ความช่วยเหลือคนพิการ และช่วยทดแทนเป็นดั่งอวัยวะของคนพิการที่ขาดหายไป เพื่อช่วยให้คนพิการดำเนินกิจวัตรต่างๆได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น คอยหยิบสิ่งของ, เปิดตู้, เปิด – ปิดสวิตซ์ไฟให้, คอยฟังเสียงเตือน เสียงเรียกต่างๆให้
ถึงแม้เราจะได้รู้เกี่ยวกับนิยามของสุนัขนำทางโดยคร่าวแล้วว่ามีหน้าที่และคุณสมบัติอย่างไร แต่ก็อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเหล่าสุนัขนำทางว่ามีข้อแตกต่างกับสุนัขทั่วไปอย่างไรบ้าง เพราะสุนัขโดยทั่วไปบางตัวก็สามารถทำหน้าที่บางอย่างที่คอยช่วยเหลือเจ้านายได้ด้วยเช่นเดียวกัน เช่น คอยเฝ้าบ้าน หรือคอยรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้านายของตนเอง แต่ถึงอย่างนั้น เหล่าสุนัขนำทางก็มีคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้เราสามารถจำแนกออกจากสุนัขโดยทั่วไปได้ดังนี้
1.การจะเป็นสุนัขนำทางต้องผ่านการฝึกมาก่อน
การที่ก่อนจะมาเป็นสุนัขนำทางคนตาบอด สุนัขเหล่านี้ต้องผ่านการทดสอบของโรงเรียนสุนัขเป็นเวลา 18 เดือน หรือประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึงจะสามารถออกมาปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่งเทรนเนอร์ไม่ได้สอนให้ดูแลเฉพาะแค่คนตาบอดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่ส่งเสียงดังรบกวนคนรอบ ไม่ขับถ่ายเรี่ยราด และไม่สร้างความเสียหายให้กับสถานที่ต่างๆ
2.ไม่ควรชวนเล่นระหว่างทำงาน
การที่สุนัขใส่บังเหียนเป็นสัญลักษณ์บอกว่ากำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ถ้าหากสังเกตเห็น สิ่งที่ควรทำคือการไม่ควรเดินเข้าไปเล่นหรือเบนความสนใจจากสุนัข เช่น เรียกชื่อ ลูบหัวลูบตัว หรือให้น้ำ – ให้อาหาร เพราะสุนัขนำทางต้องใช้สมาธิสูงในการนำทางและดูแลความปลอดภัยให้กับเจ้าของ หากสุนัขนำทางเสียสมาธิก็อาจทำให้เจ้าของเดินสะดุด หกล้ม โดนรถรถเฉี่ยวชน หรือได้รับอันตรายอื่นๆ
3.สุนัขนำทาง เข้า – ออก ได้ทุกที่
ถึงแม้หลายๆสถานที่จะมีจุดห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้า แต่สำหรับสุนัขนำทางได้มีข้อกฎหมายยกเว้นอยู่ว่า สุนัขนำทางถือเป็นอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตา เช่นเดียวกับการใช้ไม้เท้าหรือวีลแชร์ เพราะฉะนั้น สุนัขนำทางจึงสามารถเข้า – ออก ตามสถานที่สาธารณะได้ระหว่างการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร รวมถึงรถไฟฟ้า ก็ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืน ถึงแม้ว่าจะเป็นสถานที่ที่มีกฎห้ามไม่ให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปก็ตาม
4.สุนัขนำทางปฏิบัติหน้าที่แม้กระทั่งตอนนอน
ถึงแม้จะเห็นสุนัขนำทางนอนหมอบอยู่ข้างๆ แต่ถ้าสุนัขเหล่านี้กำลังใส่บังเหียนอยู่ก็ถือว่ากำลังปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเข้าไปเล่น, ให้อาหาร หรือเรียกร้องความสนใจจากสุนัขนำทาง เพราะการที่สุนัขนำทางกำลังนอนอยู่ไม่ได้หมายความว่ากำลังนอนเพื่อพักผ่อน แต่หมายถึงเป็นการนอนเพื่อควบคุมตัวเองไม่ให้ออกไปวิ่งเล่น
5.สุนัขนำทางไม่ใช่ GPS
ถึงแม้จะใช้ชื่อว่า “สุนัขนำทาง” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเจ้าสุนัขนำทางจะรู้จักเส้นทางที่จะไป ดังนั้นเจ้าของจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเส้นทางล่วงหน้าให้ดีก่อนจะทำการเดินทาง เพื่อจะได้ควบคุมสุนัขไปยังจุดหมายได้อย่างราบรื่นและถูกต้อง นอกจากนี้ ในเรื่องของการข้ามถนน สุนัขนำทางไม่สามารถอ่านสัญญาณไฟจราจรได้ แต่จะใช้วิธีการสังเกตและตัดสินใจก่อนจะพาเจ้าของข้ามถนนแทน
6.การจะเป็นสุนัขนำทางไม่ได้เป็นได้ทุกสายพันธุ์
ในปัจจุบัน เกณฑ์การเลือกสุนัขนำทางนั้นไม่ได้ดูกันแค่เรื่องการควบคุมอารมณ์และพัฒนาการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องของสายพันธุ์อีกด้วย โดยสายพันธุ์ที่มักนิยมนำมาเป็นสุนัขนำทางได้แก่ โกลเดน, รีทรีฟเวอร์ ลาบราดอร์, และเยอรมัน เชฟเพิร์ด เพราะเป็น 3 สายพันธุ์ที่มีขนาดพอเหมาะ ร่างกายแข็งแรง สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี นอกจากนี้สายพันธุ์ผสมระหว่างโกลเดน รีทรีฟเวอร์ กับ ลาบราดอร์ หรือลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ ก็ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน
7.สุนัขนำทางก็มีวันเกษียณเหมือนกัน
สุนัขนำทางไม่ได้ทำงานตลอดชีวิต โดยมีการจำกัดอายุการทำงานประมาณ 7 – 10 ปี ไว้ และเมื่อเกษียณแล้วก็จะมีการนำสุนัขนำทางตัวใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสุนัขนำทางก็จะกลับไปอยู่กับเจ้าของหรือครอบครัวเดิม แต่ถ้าหากเจ้าของไม่สะดวกที่จะดูแลต่อก็จะมีการหาบ้านใหม่ให้หรือส่งตัวกลับไปยังโรงเรียนฝึกสุนัขที่เดิม

ข้อมูลอินโฟกราฟิกล่าสุด

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

สายด่วนคนพิการ

สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย Disabilities Thailand

255 ห้อง 6-8 ชั้น 3 อาคารศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD) ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

E-mail : disabilitiesth@gmail.com

ติดตามเรา